ประเภทของ Phishing มีอะไรบ้าง
ประเภทของ Phishing มีอะไรบ้าง
คราวที่แล้วเราได้พูดถึง Cyber Attack ที่ร้ายแรงอย่าง Phishing คราวนี้เราจะมาทำความรู้จักว่า Phishing มีกี่ประเภท และต่างกันอย่างไร
1.Phishing ทั่วไป
ใช้อีเมลทั่วไป ที่มีเนื้อหาที่น่าเปิดดู อาจจะเป็นเรื่องมีสิทธิได้รับรางวัลพิเศษ หรือแอคเคานท์โซเชียลมีเดียของคุณมีปัญหา เพื่อให้คุณคลิกลิงค์หรือกรอกข้อมูลส่วนตัวต่างๆ phishing แบบนี้จับพิรุธได้ไม่ยากเท่าไหร่
- Spear Phishing
แฮคเกอร์จะทำการบ้านเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัวของคนที่ต้องการให้ตกเป็นเหยื่อ ว่าชื่ออะไร ทำงานที่ไหน และออกแบบการโจมตีให้เข้ากับคนๆ นั้น ดูได้จากข้อมูลที่ระบุมาในอีเมลเป็นต้น ถ้าการโจมตีนั้นมุ่งเน้นไปที่ผู้บริหารระดับสูงขององค์กร ด้วยการใช้อีเมลที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ executive meeting หรือเป็นวาระสำคัญให้ต้องตัดสินใจต่างๆ Phishing แบบนั้นจะเรียกว่า Whaling
- Session Hijacking
แฮคเกอร์แฮคเว็บที่ user คนนั้นกำลังใช้งานอยู่ และขโมยข้อมูลของ user ที่กำลังใช้งานเว็บนั้น
- Content Injection
การทำหน้าเว็บปลอมหลอกให้คนคลิกเข้าไป จากนั้นในหน้าเว็บปลอมก็จะมีการหลอกให้คนใส่ข้อมูลส่วนตัวลงไป
- Web Based Delivery
นี่คือวิธีการหลอกเอาข้อมูลที่แยบยล แฮคเกอร์เข้าไปแทรกกลางระหว่างการเชื่อมต่อของบุคคลกับเว็บไซต์นั้นๆ แล้วแฮคเกอร์ก็ตามเก็บข้อมูลที่ส่งผ่านกันระหว่างเว็บไซต์นั้นกับ user โดยที่ user ไม่รู้ตัว
- Phishing through Search Engines
แฮคเกอร์อาจทำเว็บขายของออนไลน์ปลอมๆ ซึ่งนำเสนอสินค้าราคาถูกกว่าเจ้าอื่นในตลาด ที่เราสามารถเสิร์ชเจอได้จาก search engine ต่างๆ จากนั้นตอนที่เรากรอกข้อมูลส่วนตัวเพื่อสั่งซื้อของ แฮคเกอร์ก็จะขโมยข้อมูลของเราไป
- Vishing (Voice Phishing)
มิจฉาชีบโทรหาเหยื่อ โดยใช้ Call ID ปลอม หลอกให้เหยื่อตายใจว่ามาจากหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ จากนั้นอาจจะให้เหยื่อโทรไปยังเบอร์ที่เป็นกับดัก หรือจะให้เหยื่อโอนเงินไปให้บัญชีใดบัญชีหนึ่งเลยก็ได้ (แบบที่แกงค์คอลเซ็นเตอร์ทำ) ถ้าเปลี่ยนจากการโทรศัพท์เป็นการส่ง SMS ก็จะเรียกว่า Smishing
- Link Manipulation
แฮคเกอร์ส่งลิงค์ไปให้เหยื่อคลิกดู แล้วพอคลิกเข้าไปจะเป็นเว็บไซต์ปลอมที่มิจฉาหลอกให้คนมากรอกข้อมูล การเอา pointer ของเมาส์ไปวางค้างไว้ที่จุดที่คลิก เพื่อดู url ก่อนคลิกเข้าไป จะช่วยทำให้เรารู้ว่านั่นคือลิงค์ของเว็บไซต์นั้นจริงๆ หรือลิงค์ของมิจฉาชีพ
- Keyloggers
แฮคเกอร์แอบไปติดตั้งมัลแวร์ ที่บันทึกการพิมพ์คีย์บอร์ดของคุณ จากนั้นแฮคเกอร์ก็จะมาถอดรหัสว่า ในการพิมพ์คีย์บอร์ดเหล่านั้นมีคำไหนที่น่าจะเป็นพาสเวิร์ดของผู้ใช้ สามารถแก้ได้ด้วยการใช้เวอร์ช่วลคีย์บอร์ด หรือการใช้เมาส์คลิก
- Malware
ซอฟท์แวร์ประสงค์ร้ายที่ฝังตัวเพื่อดูดข้อมูลของผู้ใช้ในเครื่อง อาจมาจากการคลิกไปที่ลิงค์กับดับของมิจฉาชีพหรือการเปิดไฟล์ที่ส่งมาทางเมลของมิจฉาชีพ
- Malware
คือการใช้ Malware ที่ไปเข้ารหัสไม่ให้ผู้ใช้เข้าถึงไฟล์นั้นๆ ได้ จนกว่าจะจ่ายเงินให้แฮคเกอร์
- Malvertising
การทำโฆษณาปลอมๆ ให้คนคลิกเข้าไปดู แต่ที่จริงแล้วก็คือการหลอกให้คนคลิกเพื่ติดตั้ง Malware โดยมากมักเจาะเข้ามาทาง Adobe PDF และ Adobe Flash
- Trojan
เป็น Malware ที่หลอกว่าเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีหน้าที่อื่นๆ มันถูกบรรจุเข้าไปในคอมพิวเตอร์ เพื่อลอบเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น เช่น ข้อมูลชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน เลขที่บัญชีธนาคาร หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลส่วนบุคคลอื่น ๆ
Phishing มีหลากหลายวิธี ด้วยเหตุนี้ การอัปเดตความรู้เรื่อง Cyber Security จึงเป็นสิ่งจำเป็น ทั้งจากการอบรมในระดับองค์กร และการหาความรู้ด้วยตัวเองของพนักงานทุกคน
__________________________
ถ้าท่านใดสนใจทดสอบ ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่
💻 : www.firewallhub.com
☎ : 02-392-3608
📱 : [email protected]