IT and Security Fundamentals

cybersecurity-professionals-top-complaints

7 รูปแบบทั่วไปของการโจมตี Cybersecurity   Highlight   - หากคุณได้เคยศึกษาเรื่องราวของภัยคุกคามในโลกไซเบอร์จะพบว่า “มีการโจมตีมากมายหลายรูปแบบ แตกไม่มีรูปแบบไหนเลยที่เหมือนกัน” แต่ละประเภทของภัยคุกคามจะมีลักษณะการโจมตีเป็นของตัวเองถึงแม้อาจจะมีความคล้ายคลึงกันบ้างก็ตาม - ในทำนองเดียวกันหากผู้ไม่หวังที่ต้องการจะคุกคามข้อมูลขององค์กรและสร้างความเสียหายให้กับองค์กรของคุณ พวกเขาจะเตรียมข้อมูลและพัฒนารูปแบบอาวุธให้มีประสิทธิภาพที่มากพอในการคุกคาม - ซึ่งหากคุณจะทำความเข้าใจเกี่ยวกับ “ภัยคุกคาม” เหล่านี้มากเพียงใด ก็อาจจะไม่มากพอ เพราะสิ่งเหล่านี้จะพยายามหาช่องโหว่ที่จะโจมตีอยู่เสมอ อย่างไรก็ตามนี่คือ 7 รูปแบบการโจมตีที่พบมากในปัจจุบัน 1. Malware 2. Phishing 3. SQL Injection Attack 4. Cross-Site Scripting (XSS) 5. Denial of Service (DoS) 6. Session Hijacking and Man-in-the-Middle Attacks 7. Credential Reuse   Malware ภัยคุกคามรุ่นบุกเบิก Malware หากคุณเคยเห็นการแจ้งเตือนไวรัสที่มักปรากฏขึ้นเป็นหน้าจอของคุณ หรือในโปรแกรม Anti-Virus ขั้นพื้นฐานเมื่อเกิดความผิดปกติ...

Read More
Rapid 7

หัวใจความปลอดภัย 3 ข้อ   Highlight - ทำความเข้าใจว่า “ภัยอันตรายที่จะโจมตีองค์กร” ในปัจจุบันไม่ได้มาในรูปแบบเดิมๆบนระบบคอมพิวเตอร์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่มีช่องโหว่มากมายไม่ว่าจะเป็น “อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างเช่น เครื่องปริ้น กล้องถ่ายรูป และอุปกรณ์เสริมอื่นๆ ที่ไม่ได้ออกแบบมาเพียงรอรับภัยคุกคาม” อุปกรณ์เหล่านี้จึงตกเป็นเป้าหมายของทางผ่านในการโจมตีของเหล่าแฮกเกอร์ ทำให้บริษัทและบุคคลต่างๆหันมาคิดถึงเรื่องความปลอดภัยของเครือข่าย ที่ผ่านการเชื่อมต่อของอุปกรณ์ต่างๆด้วยเช่นเดียวกัน - มีเหตุการณ์ที่สร้างความเสียหายมากมายที่เกิดขึ้นบนโลกไซเบอร์ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 3 ความเสียหายหลักก็คือ “ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากช่องโหว่” “ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการแสวงหาผลประโยชน์” และ “ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากภัยคุกคาม”   What Is a Vulnerability? อะไรคือ “ช่องโหว่” ที่จะเกิดขึ้นกับองค์กรของคุณ เพื่อให้เข้าใจการทำงานของระบบและการจัดการช่องโหว่ที่เกิดขึ้น จะต้องเริ่มต้นมาจากการทำความเข้าใจ “API” ซึ่งย่อมาจาก “Application Program Interface” ซึ่ง API มีความสำคัญมากในการสร้างหลักเกณฑ์ที่กำหนดทิศทางของซอฟต์แวร์ ในการใช้งานบนเครือข่ายใดๆก็ตาม (โดยความแตกต่างของ API จะเป็นอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับการติดตั้งและผู้ให้บริการ) ซึ่งช่องโหว่ที่จะเกิดขึ้นนั้น...

Read More

GDPR ความปลอดภัยด้านข้อมูลของพลเมือง EU General Data Protection Regulation (GDPR) ข้อบังคับของการป้องกันข้อมูลในแบบทั่วไป Breaking down GDPR compliance and how it protects EU citizens' data (ลดการปฏิบัติตาม GDPR และปกป้องข้อมูลของสหภาพยุโรปเป็นอย่างไร)     At a Glance:  มีหลายเหตุการณ์ชวนปวดหัวเกิดขึ้นมากมายในช่วงหลายปีที่ผ่าน ซึ่งปัญหาความไม่ปลอดภัยในระบบเครือข่ายต่างระบาดไปทั่วประเทศต่างๆในทวีปยุโรป จึงเป็นเหตุให้ EU ได้ผ่านกฎระเบียบคุ้มครองข้อมูลทั่วไปในชื่อ “General Data Protection Regulation (GDPR)” ภายในปี 2560 ทั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อให้องค์กรต่างๆในประเทศสมาชิก EU ได้เพิ่มประสิทธิภาพในเพิ่มความปลอดภัยในการปกป้องข้อมูล ถึงแม้ว่า GDPR จะพึ่งถูกนำมาใช้อย่างจริงจังในปี 2560...

Read More
NYDFS

NYDFS ตัวแทนความปลอดภัยของนิวยอร์ก เข้าใจ เข้าถึง รักษา ตามหลักข้อกำหนด 23 NYCRR Part 500   At a Glance:   ข้อกำหนดด้านความปลอดภัยบนระบบเครือข่ายของ NYDFS ซึ่งถูกกำหนดให้บริษัทประกันภัย ธนาคาร และสถาบันการเงินใน New York ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะรวมไปถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการเงิน สาขาต่างๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานของภาครัฐ ปฏิบัติตามเพื่อประเมินด้านความเสี่ยงบนโลกไซเบอร์ โดยระเบียบการปฏิบัติ “NYDFS Cybersecurity” ได้รับการออกแบบมาเพื่อปกป้องผู้บริโภคและเพื่อ "รักษาความปลอดภัยและความถูกต้องของตัวสถาบันเอง" ด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งระเบียบดังกล่าวได้มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2017 และจะต้องมีผลดำเนินงานภายใน 180 วัน (28 สิงหาคม 2017) ภายใต้การควบคุมของ New York Department...

Read More
SOC

รู้จัก SOC Reports ข้อมูลเชิงลึกด้านความเสี่ยงขององค์กร Providing insight into an organization's risk   At a Glance: สำหรับองค์กรที่มีการควบคุมภายใต้กรอบ SOC ซึ่งจะมีการใช้รายงานในการรายผลเพื่อเป็นวิธีใน “การตรวจสอบว่า องค์กรสามารถปฏิบัติได้ตามแนวทางของกรอบควบคุมความปลอดภัยหรือไม่” ทั้งนี้ยังเป็นการตรวจเช็คภายใต้กรอบปฏิบัติก่อนที่องค์กรจะเลือกใช้ตัวช่วยจากหน่วยงาน Outsource อีกด้วย ซึ่งแนวทางนี้จะเป็นทางออกด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับระบบการเงิน และการประมวลผลต่างๆได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว นอกจากนี้รายงานยังสามารถนำมาตรวจสอบโดยองค์กรอิสระ บุคคลที่สาม เพื่อประกอบการพิจารณาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในการทำประกัน และนักลงทุน เพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพด้านความปลอดภัยขององค์กรว่ามีมากน้อยแค่ไหน   รายงาน SOC จะเป็นตัวแสดงถึง “ภาพรวมด้านความปลอดภัยภายในองค์กร” และรายละเอียดของกรอบการทำงานด้านความปลอดภัย ซึ่งจะสอดคล้องกับระบบการทำงานจริงที่เกิดขึ้นภายในองค์กร รวมไปถึงการประสานงานร่วมกับบรรดาพันธมิตร และความสัมพันธ์ด้านธุรกิจต่างๆอีกด้วย ซึ่งในปัจจุบันรายงาน SOC มีความสำคัญมากที่เลยทีเดียวสำหรับ “ทีมขาย” ขององค์กรที่มักจะใช้อ้างอิงถึงความปลอดภัยและเสถียรภาพภายในองค์กรแก่ลูกค้า ก่อนที่จะไปทำความเข้าใจกันในเรื่อง “ประเภทของรายงาน” จะต้องเข้าใจก่อน “รายงาน...

Read More
Compliance and Regulatory Frameworks

Compliance and Regulatory Frameworks กรอบความปลอดภัยแบบไหนเหมาะกับคุณ แนวทางและแนวการปฏิบัติที่ดี ที่มีอิทธิพลต่อองค์กรในปัจจุบัน   At a Glance: กรอบการปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับคือแนวทางการปฏิบัติที่ดีที่สุดขององค์กร เพื่อให้ให้องค์กรสามารถปรับปรุงกระบวนการเสริมสร้างความปลอดภัยและบรรลุวัตถุประสงค์ทางธุรกิจได้ในอีกหลายๆด้าน “ตัวอย่างเช่น บริษัทของเอกชนเสนอขายโซลูชั่นระบบคลาวด์ให้กับหน่วยงานของรัฐ การดำเนินการกฎระเบียบที่วางเอาไว้จะช่วยส่งเสริมให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้เป็นอย่างดี” กรอบการปฏิบัติเหล่านี้จะส่งผลให้การสื่อสารกันระหว่างห้องเซิร์ฟเวอร์ไปยังห้องทำงานได้อย่างราบรื่น โดยมาตรฐานของกฎระเบียบและข้อบังคับนี้จะใช้ประโยชน์ได้โดย ผู้ตรวจสอบภายในองค์กรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในองค์กร จะสามารถใช้กรอบการปฏิบัตินี้ “เพื่อประเมินและควบคุมภายในองค์กรได้” ผู้ตรวจสอบและประเมินจากภายนอกสามารถใช้ “กรอบการปฏิบัติ” เหล่านี้ในการประเมินเพื่อรับรองการทำงานขององค์กรได้อีกด้วย บุคคลภายนอกอื่นๆเช่น “ลูกค้า นักลงทุน หรือกลุ่มธุรกิจอื่นๆ” จะสามารถนำมาใช้ประเมินความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นภายในองค์กรได้อีกด้วย   การปฏิบัติตามกรอบข้อบังคับที่จะสามารถเปลี่ยนแปลงและปรับแต่งให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปตลอดเวลา ซึ่งประสิทธิภาพในการควบคุมอาจจะลดลงได้เช่นเดียวกัน “การเฝ้าติดตามการเปลี่ยนแปลงอยู่เป็นประจำคือสิ่งที่จะช่วยให้ควบคุมความปลอดภัยได้” ซึ่งหากคุณทำงานร่วมกันกับทีมรักษาความปลอดภัยของข้อมูล (IS) นี่คือกรอบการดูแลที่คุณอาจจะได้พบ   Sarbanes-Oxley (SOX)   -              ทำไมถึงต้องมี SOX ? ตามที่ Sarbanes-Oxley Act ได้มีการรับรองในปี 2545 ซึ่งจะได้รับการรับรองในการป้องกันการคุกคาม ภายหลังเรื่องราวที่เกิดขึ้นใน...

Read More
Security Risk Management

Information Security Risk Management เข้าใจความเสี่ยง ! ระบุเป้าหมายเข้าใจระดับของความเสี่ยง   At a Glance: การจัดการความเสี่ยงและความปลอดภัยด้านข้อมูลขององค์กรหรือ Information Security Risk Management (ISRM) คือกระบวนการจัดการความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) เข้ามาเป็นส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการและระบุภัยคุกคาม รวมไปถึงการเก็บรักษาและสร้างความปลอดภัยให้พร้อมรับมืออยู่ตลอดเวลาอีกด้วย อย่างไรก็ตาม “ทรัพย์สินขององค์กร” ไม่ว่าจะเป็นทั้งแบบ Hardware หรือ Software คือเป้าหมายสุดท้ายในการรักษาเอาไว้ให้ได้ดีที่สุด เพื่อเป็นการสร้างความปลอดภัยขั้นสูงการจัดการความเสี่ยงทั้งหมด ระบุเป้าหมายให้ชัดเจน และกำหนดระดับของความเสี่ยงได้ คือทางออกที่ดีที่สุด   Stages of ISRM:   Identification   Identify assets: ข้อมูลที่ถูกเก็บอยู่ขององค์กรภายในระบบเปรียบได้กับ “เพชรที่แสนล้ำค่า” ที่หากเสียหายหรือสูญเสียไปจะต้องส่งผลมากมาย ตัวอย่างเช่น หมายเลขประกันสังคม และระบบทรัพย์สินทางปัญญา หรือจะเป็นข้อมูลด้านการเงินขององค์กร และส่วนอื่นๆที่หากโดนคุกคามไปแล้วอาจจะส่งผลเสียหายให้กับองค์กรได้ในระดับสูงมากเลยทีเดียว   Identify vulnerabilities:...

Read More
Incident Response Plan วางแผนก่อน พร้อมก่อน

Incident Response Plan วางแผนก่อน เริ่มก่อน พร้อมก่อน   At a Glance:   Incident Response Plan หรือแผนการตอบสนองภัยคุกคามจะทำหน้าที่เป็นตัวอธิบายถึงขั้นตอนในการรับมือภัยคุกคามที่จะเข้ามาสร้างปัญหาให้กับองค์กรของคุณ “ซึ่งแผนการตอบสนองที่รัดกุมได้มากเท่าไรก็เหมือนการยิ่งสร้างความแข็งแกร่งให้กับความปลอดภัยขององค์กรมากเท่านั้น” เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดขึ้นแล้วนั้น “แผนรับมือ” จะเป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้องค์กรกลับมาเป็นปกติและฟื้นฟูความเสียหายได้อย่างรวดเร็ว  แต่อย่างไรก็ตามแผนการรับมือที่รัดกุมจำเป็นจะต้องผ่านการจำลองเหตุการณ์และการฝึกอบรมอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้แก้ไขสถานการณ์ได้อย่างไม่ติดขัดและทันท่วงที   ไม่มีใครชอบสถานการณ์วิกฤติกันอย่างแน่นอน เมื่อถึงเวลาเช่นนี้ย่อมจะต้องคลีคลายให้เร็วที่สุด และจะต้องมีการรับมืออย่างถูกต้องตามขั้นตอนที่สามารถแก้ปัญหาได้ตั้งแต่วินาทีแรกที่เกิดปัญหา ซึ่งหากปล่อยให้เหตุการณ์วิกฤติยิ่งกินเวลานานมากขึ้น ก็จะยิ่งส่งผลให้องค์กรของคุณจะต้องเสียหายไปเรื่อยๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นกับองค์กรของคุณ “ทีมผู้ดูแลระบบความปลอดภัย” จะต้องมีความตื่นตัวและพร้อมอยู่เสมอในการรับมือสถานการณ์ อีกทั้งบุคคลอื่นๆในองค์กรด้วยเช่นเดียวกัน จะต้องทราบว่าเมื่อเกิด “สถานการณ์วิกฤติ” ใครควรจะปฏิบัติตัวเช่นไร เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายกับองค์กรในภาพรวม   What’s In a Robust Incident Response Plan?   Buy-in from key organizational stakeholders: เมื่อเกิดวิกฤติขึ้นทีมของคุณจำเป็นต้องรู้ว่า “การคุกคาม” ที่เกิดขึ้นมาจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียคนอื่นในองค์กรหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นพนักงานทั่วไปหรือผู้บริหารระดับสูงคนอื่นๆ...

Read More

Security Awareness Training ความปลอดภัยกับการฝึกอบรม -Rapid7 “สร้างความพร้อมในด้านความปลอดภัยกับการฝึกอบรม องค์ประกอบที่สำคัญกับระบบความปลอดภัย”   At a Glance:   พนักงานเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร ทั้งในเรื่องของการทำงานและเรื่องของการสอดส่องรักษาความปลอดภัยให้กับระบบขององค์กร โดยไม่เพียงแค่ผู้ดูแลระบบเท่านั้น แต่พนักงานทุกคนจะต้องมีความรู้และสามารถป้องกันภัยคุกคามที่เข้ามาทำลายองค์กร อย่างน้อยก็ได้ในระบบเบื้องต้น โดยการฝึกอบรบด้านความปลอดภัยจากทั้งภาครัฐและภาคอุตสาหกรรมไม่ว่าจะเป็น FISMA, PCI, HIPAA หรือ Sarbanes-Oxley ทั้งนี้ยังสามารถฝึกอบรบโดยผู้เชี่ยวชาญในองค์กรเอง หรือบุคคลจากภายนอกเข้ามาฝึกอบรมให้กับพนักงาน ในด้านของการรับรู้ด้านความปลอดภัย การมีส่วนร่วม และให้ข้อเสนอแนะตลอดกระบวนการรักษาความปลอดภัย   Types of Training : ประเภทของการฝึกอบรม   ในแต่ละองค์ย่อมมีระบบและวัฒนธรรมภายในองค์กรที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งรูปแบบของการฝึกอบรมก็ย่อมแตกต่างกันออกไปด้วยเช่นเดียวกัน Classroom training: เป็นรูปแบบการฝึกอบรมที่คล้ายกับห้องเรียนของเด็กนักเรียน ซึ่งจะมีผู้สอนยืนบรรยายและให้คำแนะนำ ทั้งผู้สอนและผู้เข้าฝึกอบรมจะสามารถแลกเปลี่ยน พูดคุย และสามารถตอบคำถามกันได้ตลอดการฝึกอบรม   Online training: เป็นรูปแบบการฝึกอบรมที่เน้นการฝึกอบรมโดยคนจำนวนน้อยผ่านระบบออนไลน์ แต่สามารถฝึกอบรมได้ตามเวลาที่ผู้เรียนสะดวก นอกจากนี้จะเป็นการฝึกอบรมที่ผู้เรียนสามารถใช้อุปกรณ์ของตัวเองในการฝึกอบรมได้อีกด้วย   Visual aids: การฝึกอบรมในรูปแบบนี้จะเน้นไปที่ “การสร้างความตระหนักด้านความปลอดภัย” กันมากกว่า...

Read More
Incident Response - Rapid7

Incident Response ความพร้อมในการรับมือภัยฉุกเฉิน - Rapid7 Incident Response "It's not if, it's when": Preparing for a breach ความสามารถในการตอบสนองกับเหตุการณ์ฉุกเฉิน ไม่ใช่เมื่อไหร่ แต่อยู่ที่เตรียมตัวดีแค่ไหน   At a Glance:   เมื่อทีมรักษาความปลอดภัยขององค์กรของคุณสามารถตรวจพบ “ภัยคุกคาม” ที่เข้ามาภายในเครือข่ายขององค์กร และอะไรจะเกิดขึ้นต่อไปหลังจากนั้น ? หากไม่มีการเตรียมความพร้อมในการรับมืออย่างเป็นระบบและถูกต้อง ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้จำเป็นที่จะต้องมีแผนการรับมือกับเหตุการณ์เหล่านี้ หรือที่เรียกว่า “Incident Response Plan (IRP)” อย่างเป็นขั้นเป็นตอน ซึ่งความรับผิดชอบเหล่านี้อาจจะเป็นของทีมความปลอดภัยภายในองค์กร หรือแม้แต่การเลือกใช้ Outsource การเตรียมความพร้อมของ IRP คือ “สิ่งสำคัญเสมอในการสร้างความปลอดภัยให้กับเครือข่ายขององค์กร”   ความพร้อมในการตอบสนองต่อภัยคุกคามจะต้องประกอบขึ้นจากองค์ประกอบเหล่านี้ : การจัดการและการประสานงานระหว่างทีมงาน ทั้งหน่วยงามภายในและ Outsource...

Read More