Incident Response Plan วางแผนก่อน เริ่มก่อน พร้อมก่อน

Incident Response Plan วางแผนก่อน พร้อมก่อน

Incident Response Plan วางแผนก่อน เริ่มก่อน พร้อมก่อน

Incident Response Plan วางแผนก่อน เริ่มก่อน พร้อมก่อน

 

At a Glance:

 

Incident Response Plan หรือแผนการตอบสนองภัยคุกคามจะทำหน้าที่เป็นตัวอธิบายถึงขั้นตอนในการรับมือภัยคุกคามที่จะเข้ามาสร้างปัญหาให้กับองค์กรของคุณ “ซึ่งแผนการตอบสนองที่รัดกุมได้มากเท่าไรก็เหมือนการยิ่งสร้างความแข็งแกร่งให้กับความปลอดภัยขององค์กรมากเท่านั้น”

เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดขึ้นแล้วนั้น “แผนรับมือ” จะเป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้องค์กรกลับมาเป็นปกติและฟื้นฟูความเสียหายได้อย่างรวดเร็ว  แต่อย่างไรก็ตามแผนการรับมือที่รัดกุมจำเป็นจะต้องผ่านการจำลองเหตุการณ์และการฝึกอบรมอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้แก้ไขสถานการณ์ได้อย่างไม่ติดขัดและทันท่วงที

 

ไม่มีใครชอบสถานการณ์วิกฤติกันอย่างแน่นอน เมื่อถึงเวลาเช่นนี้ย่อมจะต้องคลีคลายให้เร็วที่สุด และจะต้องมีการรับมืออย่างถูกต้องตามขั้นตอนที่สามารถแก้ปัญหาได้ตั้งแต่วินาทีแรกที่เกิดปัญหา ซึ่งหากปล่อยให้เหตุการณ์วิกฤติยิ่งกินเวลานานมากขึ้น ก็จะยิ่งส่งผลให้องค์กรของคุณจะต้องเสียหายไปเรื่อยๆ

เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นกับองค์กรของคุณ “ทีมผู้ดูแลระบบความปลอดภัย” จะต้องมีความตื่นตัวและพร้อมอยู่เสมอในการรับมือสถานการณ์ อีกทั้งบุคคลอื่นๆในองค์กรด้วยเช่นเดียวกัน จะต้องทราบว่าเมื่อเกิด “สถานการณ์วิกฤติ” ใครควรจะปฏิบัติตัวเช่นไร เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายกับองค์กรในภาพรวม

 

What’s In a Robust Incident Response Plan?

 

Buy-in from key organizational stakeholders: เมื่อเกิดวิกฤติขึ้นทีมของคุณจำเป็นต้องรู้ว่า “การคุกคาม” ที่เกิดขึ้นมาจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียคนอื่นในองค์กรหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นพนักงานทั่วไปหรือผู้บริหารระดับสูงคนอื่นๆ เพื่อจะได้เดินตามแผนการตอบสนองอย่างเต็มที่ อย่างรวดเร็วและมั่นใจอีกด้วย

 

Clearly defined roles, responsibilities, and processes: พยายามมองหาตัวการหลักของปัญหาว่ามากจากผู้ใด พิจารณาจากองค์ประกอบที่มีผลต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งผู้ที่พิจารณาในจุดนี้จะต้องมีข้อมูลอัพเดทกันอยู่เสมอว่า “ใครที่อาจจะเป็นภัยคุกคาม” ซึ่งในช่วงเวลานี้ไม่ใช้เวลาที่จะมาทดสอบสมาชิกในทีมของคุณเอง ซึ่งบางครั้งอาจจะเกิดการคลุมเครือว่าเป็นฝีมือของกลุ่มใดที่เข้ามาทำความเสียหายในองค์กร “กระบวนการคัดกรองและพิจารณาหาต้นตอของปัญหาจึงสำคัญ”

 

Technologies and partnerships to enable quick action: การฝึกซ้อม ทดสอบจากการจำลองสถานการณ์อยู่เป็นประจำ จะช่วยให้ทุกคนในทีมช่วยกันมองช่องโหว่ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของวิธีการแก้ปัญหา หรือจะเป็นในเรื่องของเครื่องมือ และเทคโนโลยีมากมีความพร้อมในการรับมือมากเพียงใด โดยเฉพาะความสามารถของ “ระบบอัตโนมัติ” ที่ยิ่งมีมาก ก็จะยิ่งตอบสนองต่อเหตุการณ์ได้อย่างรวดเร็ว

 

กุญแจที่สำคัญที่สุดของเรื่องทั้งหมดก็คือ “ความรวดเร็ว” แน่นอนว่าหากองค์กรขาดความเชี่ยวชาญ ความพร้อมในทรัพยากร และแผนการที่รัดกุม ก็จะส่งผลให้การตอบสนองต่อเหตุการณ์วิกฤตเกิดขึ้นได้อย่างล่าช้า จากองค์ประกอบสำคัญทั้ง 3 ส่วนที่ได้กล่าวไปข้างต้น จึงเป็นส่วนสำคัญของ “แผนการรับมือที่มีประสิทธิภาพและสามารถนำมาใช้งานได้จริง”

 

External Incident Response Services

หากคุณการการสนับสนุนด้านความปลอดภัย “ที่ต้องการความเชี่ยวชาญในระดับสูง” มีผู้ให้บริการที่สามารถวางแผน และเตรียมรับมือภัยคุกคามให้กับองค์กรของคุณได้เช่นเดียวกัน โดย :

Developing robust security programs: หากคุณยังไม่แน่ใจว่าองค์กรของคุณมีความพร้อมมากน้อยแค่ไหนในการรับมือภัยฉุกเฉิน ผู้ให้บริการจากภายนอกจะสามารถมองหาช่องโหว่ และปรับปรุงให้องค์กรของคุณมีความพร้อมได้มากยิ่งขึ้น

 

Conducting tabletop exercises: ผู้ให้บริการจากภายนอกยังสามารถสร้างทีมดูแลระบบความปลอดภัยให้กับองค์กรของคุณ พร้อมทั้งยังจำลองเหตุการณ์ ฝึกฝนรับมือให้คุณได้อีกด้วย

 

Conducting compromise and/or breach readiness assessments: ประเมินความเสี่ยงที่องค์กรของคุณอาจจะต้องเจอ ประเมินสภาพในปัจจุบันว่าจะสามารถรับมือความเสี่ยงเหล่านี้ได้ดีมากน้อยแค่ไหน ทั้งทีมดูแลระบบและรวมไปถึงสภาพแวดล้อม ทรัพยากรขององค์กรทั้งหมด

 

Providing immediate breach remediation: หากในขณะนี้คุณกำลังสงสัยความ “องค์กรของคุณกำลังโดนคุกคาม” และต้องการแก้ไขปัญหานี้ให้เร็วที่สุด ผู้ให้บริการจะสามารถรับมือเหตุการณ์วิกฤติดังกล่าวและพร้อมพาองค์กรของคุณไปสู่การปฏิบัติเพื่อช่วยป้องกันความเสียหายอย่างถูกวิธี

 

Offering incident response retainers: ผู้ให้บริการจะสามารถแก้ไขปัญหาให้องค์กรของคุณได้ ตามข้อตกลงที่วางกันเอาไว้ อีกทั้งโดยมากยังสามารถการันตีถึงความปลอดภัย และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับองค์กรของคุณได้อีกด้วย

 

ในหลายๆส่วนอาจจะดูเหมือนซ้ำไป ซ้ำมา แต่ในช่วงเวลาที่เลวร้ายที่สุดก็คือ “การละเลยเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นมาและไม่มีการเตรียมตัวรับมือความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น”

การวางแผนและสร้างความรัดกุมให้กับกระบวนการรับมือจะส่งผลให้การตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำให้มั่นใจได้ว่าจะสามารถรายงานไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องคนอื่นๆได้ถึงแผนการและความพร้อมในการรับมือได้อีกด้วย

 

Reference: https://www.rapid7.com/fundamentals/incident-response-plan/

Monster Connect
Monster Connect