ทำความรู้จักก่อนเจอดี ! อะไรคือ Zero-Day Exploit ?
Zero-Day Exploit : การโจมตีขั้นสูงที่ได้วางแผน ล็อกเป้าหมาย และกำหนดเอาไว้แล้ว !
เวลาคนเราเริ่มต้นนับเลขก็มีจะเริ่มนับกันที่ 1 ใช่ไหมครับ แต่ถ้าเป็นการนับจำนวนที่น้อยกว่า 1 หรือ 0 นั่นก็หมายถึงการนับตำแหน่งที่จะเกิดขึ้นก่อนที่คุณจะเริ่มต้นนับเสียอีก ส่วนคำว่า Exploit ก็ความหมายตรงตัวที่ที่แปลว่า “การฉวยโอกาส” จึงสามารถรวมความหมายของทั้งสองคำนี่ได้เป็น “การฉวยโอกาสจากคุณก่อนที่คุณจะทันได้ตั้งตัว”
อย่าพึ่งงงกับความหมายนี้ ! แต่ต้องกลับมาทำความเข้าใจเรื่องของการทำงานของระบบ Software รวมไปถึงระบบปฏิบัติการทุกอย่าง “ย่อมมีช่องโหว่” และเมื่อผู้ไม่หวังดีสามารถค้นหาช่องโหว่เหล่านั้นเจอ ก็จะเป็นการคุกคามช่องโหว่นั้นได้ทันทีโดยที่คุณไม่ทันตั้งตัว การกระทำนี้คือความหมายของ “Zero-Day Exploit”
ช่องโหว่ที่เกิดขึ้นกับ Zero Day ซึ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อทั้ง Software Hardware และองค์กรเป้าหมายได้อย่างรุนแรง ซึ่งหากโดนโจมตีผ่านช่องโหว่นั้นไปแล้วก็ยากที่จะตรวจจับ และแก้ไข
Vulnerability timeline
อย่างที่ได้อธิบายไปตอนต้นว่า “การโจมตีแบบ Zero Day” คือการโจมตีผ่านช่องโหว่ ทั้งช่องโหว่ที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจและช่องโหว่ที่เกิดขึ้นจากการสร้างของผู้โจมตี โดยจะมีลำดับขั้นตอนดังนี้
- นักพัฒนาสร้าง ซอฟต์แวร์เพื่อใช้งานในองค์กรหรือปล่อยสู่ตลอดโดยที่พวกเขาเองก็ไม่ทราบว่า “มีช่องโหว่เกิดขึ้นที่ไหน”
- ผู้คุกคามที่มีการสแกนหา “จุดอ่อน” ในทุกวัน จะสามารถตรวจพบ “ช่องโหว่” ได้ก่อนนักพัฒนา
- เมื่อผู้โจมตีตรวจพบช่องโหว่ จึงทำการเขียนหรือเจาะเข้าไปในช่องโหว่ที่เปิดออก เพื่อแสวงหาข้อมูล
- หลังจากที่มีการคุกคามจน “นักพัฒนา” หรือ “องค์กร” สามารถตรวจสอบพบจึงออก Software หรือ Patch ใหม่ขึ้นมาเพื่อแก้ไขช่องโหว่นี้
หลังจากที่เกิดเหตุการณ์ทั้ง 4 ขั้นตอนขึ้น จะถูกเรียกว่า “องค์กรของคุณโดนโจมตีแบบ Zero-Day Exploit” จนกว่าจะได้รับการแก้ไข ซึ่งการโจมตีเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นทันทีที่มีช่องโหว่ แต่จะเกิดขึ้นทันทีที่ช่องโหว่นั้นสามารถเป็นประตูสู่ “ผลประโยชน์ของเหล่าแฮกเกอร์ได้”
Reference : https://www.fireeye.com/current-threats/what-is-a-zero-day-exploit.html