14
Apr
ดาวเทียมระบบ Moderate Resolution Imaging Spectroradiometer (MODIS)
in All, ไม่มีหมวดหมู่
Comments
ดาวเทียมระบบ Moderate Resolution Imaging Spectroradiometer (MODIS)
.
.
ดาวเทียมระบบ MODIS คืออะไร
.
ระบบ MODIS มีชื่อเต็มๆ ว่า Moderate Resolution Imaging Spectroradiometer เป็น 1 ใน 5 ของระบบเซนเซอร์ที่ติดตั้งบนดาวเทียม Terra และ Aqua ที่ถือเป็นดาวเทียมในกลุ่มดาวเทียมสำรวจโลกเช่นเดียวกับดาวเทียม NOAA โดย Terra ถูกส่งขึ้นโคจรเมื่อปี ค.ศ. 1999 มีภารกิจเพื่อการสำรวจชั้นบรรยากาศ พื้นโลก และมหาสมุทร ในขณะที่ Aqua ถูกส่งเมื่อปี ค.ศ. 2004 เพื่อการสำรวจหยาดน้ำฟ้าและวัฏจักรของน้ำ การโคจรของดาวเทียม MODIS มีทั้งหมด 4 ช่วงเวลา 02.00 น. 11.00 น. 14.00 น. และ 22.00 น. ดาวเทียม MODIS มีรายละเอียดภาพที่ 1000 เมตร
แต่ด้วยดาวเทียมทั้ง 2 มีเซนเซอร์ระบบ MODIS เหมือนกัน ทำให้มีผู้ใช้งานข้อมูลจากทั้ง 2 ระบบร่วมกันโดยไม่แบ่งแยก ซึ่งดาวเทียม Terra จะโคจรจากขั้วโลกเหนือมายังขั้วโลกใต้ (descending) ผ่านบริเวณแถบศูนย์สูตรช่วงเวลาเช้า ในขณะที่ดาวเทียม Aqua จะโคจรจากขั้วโลกใต้ขึ้นไปยังขั้วเหนือ (ascending) ผ่านบริเวณศูนย์สูตรในช่วงบ่าย (จากทิศทางการโคจรของ Aqua ทำให้ภาพที่บันทึกเมื่อถูกแสดงในโปรแกรมดูภาพจะมีลักษณะกลับหัว)
ดาวเทียมทั้ง 2 ดวงมีวงโคจรอยู่ที่ระดับ 705 กิโลเมตร ระบบ MODIS มี 36 แบนด์ ตั้งแต่ความยาวคลื่น 0.4 ถึง 14.4 ไมครอน มีขนาดความละเอียดเชิงพื้นที่แตกต่างกัน 3 ระดับคือ ที่ขนาด 250 เมตร (แบนด์ 1 และ 2) ขนาด 500 เมตร (แบนด์ 3 – 7) และขนาด 1 กิโลเมตร (29 แบนด์ที่เหลือ)
แต่อย่างไรก็ตาม ระบบ MODIS ก็ยังมีข้อจำกัดคือ การที่วงโคจรอยู่ต่ำกว่าดาวเทียมดวงอื่นในกลุ่มเดียวกัน ส่งผลให้บางช่วงเวลาเกิดช่องว่างของการบันทึกข้อมูลระหว่างแนวโคจรบริเวณส่วนกลางของโลก
.
.
ดาวเทียมระบบ MODIS ทำหน้าที่อะไรบ้าง
.
ดาวเทียมระบบ MODIS ถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง และ 1 ในภารกิจที่สำคัญก็คือการใช้ติดตามสถานการณ์ไฟป่าหมอกควัน มันสามารถติดตามการเกิดจุดความร้อนบนพื้นผิวโลกแบบรายวัน เริ่มตั้งแต่ปี 2012 เป็นต้นมา เซ็นเซอร์การตรวจจับความร้อน โดยระบบ MODIS ตรวจพบจุดความร้อน (Hot spot) จากชั้นข้อมูลรายละเอียด 1000 เมตรต่อพิกเซล และสามารถตรวจจับความร้อนในพื้นที่เดิม 4 ช่วงเวลาในรอบ 1 วัน ซึ่ง MODIS นั้นสามารถตรวจวัดได้ทั้งเปลวไฟ และความร้อนที่ยังครุกรุ่นและไฟที่ไหม้อย่างช้าๆ โดยไม่มีเปลวไฟ ที่มีขนาดตั้งแต่ 1,000 ตารางเมตร ทำให้สามารถติดตาม สถานการณ์ไฟป่าได้อย่างใกล้ชิด และทันเหตุการณ์ ทำให้ข้อมูลที่ได้จากดาวเทียมระบบ MODIS ถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง และ 1 ในภารกิจที่สำคัญก็คือการใช้ติดตามสถานการณ์ไฟป่าหมอกควัน โดยดาวเทียมระบบ MODIS ให้ข้อมูลแบบ near real time ซึ่งใช้ดาวเทียม 2 ดวง คือ Terra และ Aqua ทำให้สามารถรับสัญญาณ ได้ถึง 4 รอบ ใน 1 วัน ช่วยให้การติดตามจุดความร้อนในพื้นที่ต่างๆ ดำเนินการได้ทันสถานการณ์ ส่งผลให้สามารถนำข้อมูลไปใช้บริหารจัดการ วางแผน ควบคุม ป้องกันการเกิดไฟป่าได้ทันท่วงทีและนี่ก็เป็นเหตุผลที่ NASA เลือกใช้ดาวเทียมระบบ MODIS ในการบริหารจัดการเชิงพื้นที่
.
.
บริษัท Monster Connect กับดาวเทียมระบบ MODIS
.
เป็นความร่วมมือของบริษัท Monster Connect กับ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยี อวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA) องค์การมหาชน ภายใต้สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โดยทางบริษัท Monster Connect นั้นได้รับหน้าที่ให้ดูแล บำรุงและรักษา รวมไปถึงการซ่อมแซมแก้ไขระบบรับสัญญาณดาวเทียม Modis ณ สำนักงาน GISTDA อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี เพื่อให้ระบบการรับสัญญาณดาวเทียม สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ ซึ่งทางบริษัทดูแลระบบซอฟต์แวร์ ระบบการรับสัญญาณและการสื่อสารกับดาวเทียม การประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลที่ดาวเทียมส่งมายังสถานีภาคพื้นดิน รวมไปถึงการเก็บรักษาข้อมูลของดาวเทียมทั้งข้อมูลภาพถ่ายที่มาจากดาวเทียมนั้นและข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลมาแล้ว เพื่อที่จะสามารถนำข้อมูลและภาพที่ประมวลผลดังกล่าวไปใช้ต่อได้ในอนาคต
.
.
.
.
Written by Witsawa Chanton
.
Ref.
https://www.gistda.or.th/main/th/node/3479#:~:text=%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%20MODIS%20%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B9%87%E0%B8%A1,%E0%B8%82%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%20Aqua%20%E0%B8%96%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%87
https://modis.gsfc.nasa.gov/data/
http://droughtv2.gistda.or.th/?q=content/%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A-modis