[qodef_icon icon_pack="font_awesome" fa_icon="fa-facebook" size="qodef-icon-medium" custom_size="33" type="normal" icon_animation="" link="https://www.facebook.com/" target="_blank" icon_color="#393939" hover_icon_color="#b2dd4c" margin="0 10px 0 0"] [qodef_icon icon_pack="font_awesome" fa_icon="fa-twitter" size="qodef-icon-medium" custom_size="30" type="normal" icon_animation="" link="https://twitter.com/" target="_blank" icon_color="#393939" hover_icon_color="#b2dd4c" margin="0 20px 0 0"] [qodef_icon icon_pack="font_awesome" fa_icon="fa-vine" size="qodef-icon-medium" custom_size="30" type="normal" icon_animation="" link="https://vine.co/" target="_blank" icon_color="#393939" hover_icon_color="#b2dd4c" margin="0 20px 0 0"] [qodef_icon icon_pack="font_awesome" fa_icon="fa-linkedin" size="qodef-icon-medium" custom_size="30" type="normal" icon_animation="" link="https://www.linkedin.com/" target="_blank" icon_color="#393939" hover_icon_color="#b2dd4c" margin="0 20px 0 0"] [qodef_icon icon_pack="font_awesome" fa_icon="fa-instagram" size="qodef-icon-medium" custom_size="30" type="normal" icon_animation="" link="https://www.instagram.com/" target="_blank" icon_color="#393939" hover_icon_color="#b2dd4c" margin="0 0 0 0"]

DR-as-a-Services (DRaaS) คืออะไร ?

Disaster recovery as a services

DR-as-a-Services (DRaaS) คืออะไร ?

DR-as-a-Services (DRaaS) คืออะไร ?

 

Disaster recovery หรือเรียกสั้นๆว่า DR หรือหมายถึง การกู้คืนข้อมูลเมื่อเกิดภัยพิบัติ โดยทั่วไปเเล้วถ้า องค์กรไหนต้องการมี DR ก็ต้องลงทุน H/W, เเละ S/W ไว้รองรับไว้ที่ site สำรองเพื่อทำงานทดเเทน เมื่อไม่สามารถทำงานที่ site หลักได้ ซึ่งฟังดูเหมือนง่าย เเต่เเท้ที่จริงเเล้วมีความซับซ้อนในการสร้างมากๆ

ปัจจุบันเราทุกคนอยู่ในยุค always-on หรือยุคที่พร้อมใช้งานในการเชื่อมต่อโลก internet โดยไม่สามารถรอการใช้งานเมื่อเกิด downtime ได้ ซึ่งลองคิดดู ถ้าทุกท่านไม่สามารถใช้ facebook หรือ line chat ได้เพียงเเค่ครึ่งชั่วโมง จะรู้สึกอย่างไรกัน

 

ปัจจุบัน Disaster Recovery หน้าตาเป็นอย่างไร

 

ภาระอันหนักอึ้งสำหรับ IT ในทุกๆ องค์กร คือการทำอย่างไรให้ application เเละ data มีความพร้อมใช้งานอย่างต่อเนื่อง โดยปราศจากสิ่งที่ไม่คาดหวัง เช่น server พัง, software มี bug ที่เราพอดี๊พอดี, data เจ๊ง, หรือเกิดภัยพิบัติ ซึ่งทุกสิ่งที่กล่าวมา business เเละ user ไม่สามารถรอได้ เเละต้องหา solution เพื่อมาป้องกันโดยการทำ fault tolerant ให้กับระบบ ซึ่งส่วนที่สำคัญที่สุดในการป้องกันก็คือ DR site นั่นเอง โดยสมันก่อนเราได้นิยาม DR ไว้ 3 ประเภทคือ hot site, cold site, เเละ worm site

  1. Hot site – องค์กรต้องมีอุปกรณ์ที่ site สำรองเหมือน HQ เป๊ะ ซึ่งนั่นหมายความว่าต้องให้เงินลงทุนก้อนใหญ่อีกทั้งต้องยังต้อง operate อีกต่อไป โดยทั่วไปเเล้วองค์ประกอบของ DR จะประกอบด้วย server, storage, เเละ network (ซึ่งอาจจะ sync หรือ async ก็ขึ้นอยู่กับความสำคัญของระบบเเละกระเป๋าตังที่ถืออยู่)
  2. Cold site – อาจเป็นเพียงการส่ง tape backup ไปยังที่ ที่เตรียมไว้ เเละอาจต้องเตรียม H/W ไว้ restore โดยอาจะยอมรับการขึ้นระบบได้หลายวันหรือเป็นอาทิตย์เลยก็ได้ ถามว่าเเล้วใครจะใช้? ตอบได้ 2 เเง่มุมคือ ระบบอาจไม่มีคำสัญมากพอหรือติดที่งบลงทุน
  3. Worm site – ง่ายๆ ก็อยู่ระหว่าง hot กับ cold site นั่นเเหละ โดยอาจจะใช้ server เเละ backup server ทำ setup รอไว้ก่อน จากนั้น recovery อีก 2-3 วัน

 

เปรียบเทียบระหว่าง Hot, Cold, เเละ Worm site

 

ทั้ง 3 อาจจะเกิดมาเพื่อคนละ objective เเต่ที่เเน่ๆ ทั้ง 3 ไม่ตอบโจทย์กับโลกปัจจุบันเเน่นอน เพราะ hot site ให้เงินลงทุนเยอะไป ส่วน cold เเละ worm ก็ไม่สามารถให้ user รอใช้ระบบได้ ซึ่งตามที่กล่าวเบื้องต้น นี่มันยุค always on!

ซึ่งก็ไม่เเปลกว่าทำไม กว่า 95% ขององค์กรในประเทศไทยยังไม่มี DR site โดยไม่คิดเเม้เเต่ที่จะพิจารณาว่าจะมีด้วยซ้ำไป โดยจะมุ่งเน้นเเต่จะ protection ภายใน site ไม่ว่าจะเป็น backup หรือ hyper-visor solution

 

มาถึงยุค Disaster recovery as a services (DRaaS)

 

เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา service provider ได้เปลี่ยนเเปลงวงการอุตสาหกรรมด้าน IT โดยสร้าง cloud services เพื่อลดความซับซ้อนเเละการลงทุนทางด้าน H/W ไม่ว่าจะเป็น SaaS, PaaS, เเละ IaaS ซึ่ง DRaaS ก็เช่นกันที่ได้รับผลพลอยได้ตามนั้นด้วย ซึ่งทำให้ง่ายที่หลายองค์กรจะเข้าถึง DR ได้มากขึ้น

Disaster recovery as a services

เมื่อไหร่ที่ควรจะมี DR Site ?

 

  1. เมื่อ site หลัก มีโอกาสที่จะเกิดความเสียหายจากภัยพิบัติจากธรรมชาติ เช่น เเผ่นดินไหว, น้ำท่วม
  2. เมื่อ site หลัก มีโอกาสที่จะเกิดความเสียหายจากภัยพิบัติจากเหตุการณ์พื้นที่เสี่ยง เช่น ไฟไหม้, ไฟดับ, network ไม่สามารถใช้งานได้เป็นเวลานาน, เเละการเมือง
  3. เมื่อ site หลัก มีโอกาสที่จะเกิดความเสียหายจากความเสียหายจากอุปกรณ์ IT, การดำเนินงานที่ผิดพลาด, หรืออื่นๆ ที่ทำให้เกิด downtime

ตามตำราเค้าว่า DR site ต้องอยู่ห่างจาก main site ประมาณ 160 กิโลเมตร ซึ่งจะต้องพิจารณาจากภัยพิบัติรอบข้าง เเต่ก็ยากสำหรับประเทศไทยที่ data center จะอยู่ห่างกันเกิน 160 กิโล หรือคนละจังหวัด ซึ่งเเท้ที่จริงเเล้วเเค่อยู่คนละ site กับ main site ก็เพียงพอเเล้ว

 

Backup เเละ Replication

 

สิ่งที่จำเป็นที่สุดสำหรับ disaster recovery plan คือการส่ง data ที่สำคัญ ออกไป offsite เมื่อเกิดเหตุ ซึ่งมีสองประเภทของการ offsite คือ

  1. Backup คือ การ copy database, file, หรือ VM ออกไปนอก site ซึ่งอาจจะรวมถึง tape หรือ VTL ด้วยก็ได้
  2. Replication คือ การเขียน database, file, ออกไป DR site ผ่าน network ไปยังเป้าหมาย storage

เเค่ Backup อาจจะเพียงพอในการทำ DR เเต่ก็ไม่ดีพอสำหรับ application ที่ต้องการ RPO ที่น้อยกว่า 15 นาที

Disaster recovery as a services

 

อาจจะเรียกได้ว่าเป็น next generation services สำหรับ high available services เลยก็ว่าได้ ซึ่งทำให้องค์กรลดโอกาสการเกิด downtime เเละการหยุดชะงักสำหรับธุรกิจ โดยไม่ต้องลงทุนเเบบ hot site เเบบเดิมๆ

หวังว่าทุกท่านอ่านเเล้วคงอยากคิดจะเริ่มต้นมี DR site กะเค้าบ้างละน้า…

 

อยาก Test ของจริง สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่

 

เบอร์โทร. 02-392-3608 กด 1
E-mail : [email protected]
Line ID : @monsterconnect
ทางเจ้าหน้าที่ของเราจะติดต่อกลับท่านโดยเร็วที่สุด

Monster Connect
Monster Connect