E-Signature คืออะไร เกี่ยวข้องกับกฎหมายอย่างไร?

cover E-Signature

E-Signature คืออะไร เกี่ยวข้องกับกฎหมายอย่างไร?

ในโลกดิจิทัล ใครหลายๆคนเริ่มหันมาใช้งานอินเทอร์เน็ตกันมากขึ้น ไม่ว่าจะนักเรียนนักศึกษา องค์กร ที่ใช้เครื่องมือติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต ถ้าเทียบกับยุคก่อนที่อินเตอร์เน็ตยังไม่ป็นที่นิยมเนื่องจากความเร็วของอินเทอรเน็ตเองและในหลายองค์กรยังไม่ได้มีความรู้ด้านดิจิทัลมากพอมาก การทำงานภายในองค์กรยังต้องพึ่งงานเอกสาร ที่เป็นรูปแบบกระดาษอยู่ การเซ็นเอกสารยังต้องเป็นการเซ็นกระดาษเพื่อรองรับให้ถูกต้องทั้งวิธีการ และทางด้านกฎหมาย แต่ในปัจจุบันหลายๆองค์เริ่มหันมาใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์นการส่งไฟล์ต่างๆระหว่างแผนก หรือส่งข้างองค์กรก็ยังมีความง่ายมากยิ่งขึ้น บล็อกนี้เราจะมาดูกันว่า การเซ็นเอกสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์มีความสำคัญอย่างไรและจะช่วยยกระดับการทำธุรกรรมและจะช่วยผลักดันการทำงานสู่ดิจิทัลอย่างไร

E-Signature คืออะไร

E-Signature หรือ electronic signature เทคโนโลยีในการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ใช้แทนการลงลายมือในกระดาษ สามารถที่จะใช้รูปแบบที่เป็นตัวอักษร อักขระ ตัวเลข ในการยืนยันเจ้าของลายมือกับข้อมูลในเอกสารนั้น เพื่อการผู้เซ็นรับยอมรับกับข้อมูลเอกสาร โดยมีการใช้เทคโนโลยีที่สามารถตรวจสอบได้ว่าผู้นั้นเป็นเจ้าของลายเซ็นไหม สิ่งที่สำคัญของการลงลายมือชื่อ คือ การทำให้สามารถระบุตัวเจ้าของลายมือชื่อและแสดงความต้องการของเจ้าของลายมือชื่อเกี่ยวกับข้อความที่ตนได้ลงลายมือชื่อนั้น ๆ ในการทำธุรกรรมทางต่างๆผ่านออนไลน์ เช่น การเซ็นการอนุมัติการสั่งซื้อ electronic signature ได้มีกฎหมายรับรอง ตามพรบ. ว่าด้วยการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นไปตามมาตรฐานสากล พ.ศ.2544 และฉบับเพิ่มเติม ปี2562 เราสามารถแบ่งประเภทได้ดังนี้

  • ประเภทที่ 1 ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป
  • ประเภทที่ 2 ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ชื่อถือได้
  • ประเภทที่ 3 ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ชื่อถือได้ ซึ่งใช้ใบรับรองที่ออกโดยผู้ให้บริการ
type of  electronic signature

ประเภทที่ 1 ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป

ประเภทลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป เป็นลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบใด ๆ อาจจะเป็นในรูปแบบอักษร อักขระ ตัวเลข เสียงหรือสัญลักษณ์อื่นใดที่สร้างขึ้นให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ มีลักษณะ ตามที่กำหนดในมาตรา 9 กฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ตัวอย่าง เช่น การพิมพ์ชื่อไว้ท้ายเนื้อหา ของอีเมล การสแกนภาพของ
ลายมือชื่อที่เขียนด้วยมือและแนบไปกับเอกสารอิเล็กทรอนิกส์การใช้สไตลัส (stylus) เขียนลายมือชื่อด้วยมือลงบน หน้าจอและบันทึกไว้ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์

ประเภทที่ 2: ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้

ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้เป็นลายมือชื่อ อิเล็กทรอนิกส์ที่มีลักษณะตามที่กำหนด ในมาตรา 26 แห่งกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทที่ 2 ที่ให้บริการกันในกลุ่ม (ตามมาตรา 26 ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ฯ) ให้ถือว่าเป็นลายมือชื่อที่เชื่อถือได้ ตัวอย่างหนึ่งของลายมือชื่อประเภทนี้ คือ ลายมือชื่อดิจิทัล ที่ให้บริการกันในกลุ่ม โดย

  • เข้ารหัสลับ (Encrypt) ที่สามารถตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของลายมือชื่อและข้อความอิเล็กทรอนิกส์ได้
  • ขณะลงนาม เจ้าของข้อมูลเป็นผู้ควบคุมการลงนามของตัวเอง โดยไม่โดนคนอื่นมาสวมรอยหรือบังคับให้ทำ

ประเภทที่ 3: ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้ซึ่งใช้ใบรับรองที่ออกโดยผู้ให้บริการออกใบรับรอง

ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้ซึ่งใช้ใบรับรองที่ออกโดยผู้ให้บริการออกใบรับรอง เป็นลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีลักษณะตามที่กำหนดในมาตรา 26 และอาศัยใบรับรองที่ออกโดยผู้ให้บริการ ออกใบรับรองเพื่อ สนับสนุนลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามที่กำหนดในมาตรา 28 แห่งกฎหมายว่าด้วย ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่างหนึ่งของลายมือชื่อประเภทนี้ คือ ลายมือชื่อดิจิทัล ที่ให้บริการโดยผู้ให้บริการออกใบรับรอง โดย

  • เข้ารหัสลับ (Encrypt) ที่สามารถตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของลายมือชื่อและข้อความอิเล็กทรอนิกส์ได้
  • ขณะลงนาม เจ้าของข้อมูลเป็นผู้ควบคุมการลงนามของตัวเอง โดยไม่โดนคนอื่นมาสวมรอยหรือบังคับให้ทำ
  • มีตัวกลางเป็นผู้ให้บริการออกใบรับรอง
    ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ประเภทที่ 2 และ 3 ต่างกันที่ประเภทที่ 2 เราจะตกลงลายมือชื่อกันในกลุ่มและใช้เทคโนโลยียืนยันว่าลายมือชื่อของเราไม่มีการเปลี่ยนแปลง ส่วนประเภทที่ 3 เราจะมีคนกลางที่ได้ใบรับรองเป็นคนยืนยันตัวให้ว่าการลงชื่อของเรานั้นคือเรา มีคุณสมบัติครบถ้วน และไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่ผิดไปจากเจตนาของเรา ซึ่งตัวอย่างหนึ่งของลายมือชื่อทั้ง 2 ประเภทนี้ คือ ลายมือชื่อดิจิทัลนั่นเอง

องค์กรหรือบุคคลทั่วไปที่สนใจ Microsoft 365 สามารถติดต่อกับเราได้ทางบริษัท Monster connect

ผ่านช่องทาง ไลน์ Line : @monsterconnect
.
สนใจทดสอบ หรือสอบถามข้อมูล เกี่ยวกับ Microsoft

ติดต่อ บริษัท มอนสเตอร์ คอนเนค โทร 02-026-6665 หรือ Line: @monsterconnect ได้ 24 ชั่วโมง

Ref : https://www.etda.or.th/th/newsevents/pr-news/Electronic-Signature-Guideline-News.aspx

https://www.etda.or.th/th/Useful-Resource/

WRT JPM
WRT JPM