Log file พรบ.คอมพิวเตอร์ 2560

หลาย ๆ คนอาจจะเคยได้ยินเกี่ยวกับกับ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2560 ไม่มากก็น้อยกันมาอยู่แล้ว ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ เป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนควรจะต้องรู้ไว้ เนื่องจาก พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มีเนื้อหาครอบคลุมเรื่องพฤติกรรมการใช้งานอินเทอร์เน็ตของบุคคลทั่วไปอย่างเรา ๆ  และยังครอบคลุมถึงส่วนของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานหรือองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนที่ให้บริการอินเตอร์เน็ตก็ตาม ซึ่งประเด็นสำคัญที่บุคคลภายในหน่วยงานหรือองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงบุคคลที่ประกอบอาชีพเกี่ยวกับด้านไอทีและเครือข่ายต่าง ๆ ควรรู้จักและทำความเข้าใจให้มากขึ้นก็คือ การจัดเก็บ Log file ให้เป็นไปตามมาตรฐาน พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2560

 

การจัดเก็บ Log file ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2560

การจัดเก็บ Log file ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ จริง ๆ แล้วนั้นก็มีลักษณะคล้ายกับกฎหมายจราจร กล่าวคือ ในปัจจุบันนี้มีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตมากขึ้นในแต่ละวัน ไม่ว่าจะด้วยจุดประสงค์อะไรก็ตามซึ่งเปรียบเสมือนการขับรถสัญจรไปมาบนท้องถนน ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องควบคุมหากพบว่ามีผู้ที่กระทำความผิด ฝ่าฝืนกฎระเบียบและข้อบังคับ สร้างความเดือดร้อนต่อผู้อื่นบนโลกอินเทอร์เน็ตหรือแม้กระทั่งคุกคามเว็บไซต์ ทำให้ข้อมูลบนเว็บไซต์ถูกทำลายหรือเสียหายนั่นเอง

 

Log เก็บยังไง ใครบ้างที่ต้องจัดเก็บ Log file ?

ตามที่ได้กล่าวไปข้างต้นแล้วว่า การ Log file คือสิ่งที่สามารถควบคุมได้หากพบว่ามีผู้กระทำความผิดบนโลกอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะทำการบันทึกข้อมูลผู้ที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตไม่ว่าจะเป็น วัน, เวลา, IP Adress และ MAC Adress โดยผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ยกตัวอย่างเช่น หากเราไปนั่งร้านกาแฟ ก็จะถือว่าผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตคือร้านกาแฟ หากอาศัยอยู่ที่หอพักก็จะถือว่าผู้ที่เป็นเจ้าของหอพักคือผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต โดยผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตจะต้องใช้ Log ที่ตรงตามมาตรฐานและมีประสิทธิภาพ

 

จำเป็นหรือไม่ ที่จะต้องใช้ Log ที่ได้มาตรฐาน ?

จริง ๆ แล้ว Log ทั่ว ๆ ไป กับ Log ที่ได้มาตรฐานนั้นมีรายละเอียดทั่วไปและมีเนื้อหาที่เหมือนกัน คือสามารถบันทึกวัน, เวลา, IP Adress และ MAC Adress ได้ แต่จะมีความแตกต่างกัน ดังนี้

1. ความน่าเชื่อถือของอุปกรณ์จัดเก็บ Log  เมื่อพบว่ามีผู้กระทำความผิดจริง Log ที่ได้มาตรฐานจะสามารถใช้อ้างอิงได้ตามกฎหมาย
2. ความปลอดภัยของระบบไฟฟ้า จะต้องมีความต้านทานที่เหมาะสม สามารถจ่ายไฟได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ความแม่นยำของ Log ในเรื่องของการเก็บข้อมูลไม่ว่าจะเป็นวันที่หรือเวลา โดยซิงค์กับเวลามาตรฐานของประเทศไทย

ทั้งนี้ทั้งนั้นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตก็จะต้องทำการเก็บรักษาข้อมูลการจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ เพื่อให้สามารถระบุตัวตนผู้ใช้บริการได้นับตั้งแต่เริ่มใช้บริการ และต้องเก็บรักษาไว้ ไม่น้อยกว่า 90 วัน นับตั้งแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ หากผู้ให้บริการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตราที่ 26 ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2560 นี้ จะต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500,000 บาท

 

แหล่งข้อมูลและเนื้อหา ดิจิลทิปส์

 

สอบถามบริการเพิ่มเติมได้ทาง Line: @monsterconnect

โทร. 02-026-6665

[email protected]

Surakitt Wongsuwan
Surakitt Wongsuwan

Web Admin, Digital Marketing, Photography