18
Jun
Relational database
.
Relational database คือ
.
ถูกสร้างขึ้นในปี 1970 โดย Edgar F. Codd ซึ่งในขณะนั่นเขาทำงานให้บริษัท IBM ซึ่งในขณะยังเป็นเพียงการตีพิมพ์บทความเพื่อนำเสนอการใช้งาน Relational database เท่านั้นและนั่นก็เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้คนหันมาให้ความสนใจ จนในปี 1983 IBM ได้เปิดตัว Relational database ในตระกูล DB2 อย่างเป็นทางการ
.
ถ้าแปลเป็นไทย คือ ระบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ มันคือ การเก็บข้อมูลในรูปแบบของตาราง (table) เสมือนเป็นแฟ้มเก็บข้อมูล ในแต่ละตารางจะเก็บข้อมูลไว้เป็นแถว (Row) และแต่ละแถวจะประกอบไปด้วยคอลัมน์ (Column) ซึ่งในการเชื่อมโยงกันระหว่างข้อมูลในตารางต่างๆ จะ เชื่อมโยงโดยใช้การอ้างอิงจากข้อมูลในคอลัมน์ที่กำหนดไว้ เนื่องด้วยแนวคิดของแบบจําลองแบบนี้มีลักษณะที่คนใช้กันทั่วกล่าวคือ มีการเก็บเป็นตาราง ทำให้ง่ายต่อการเข้าใจและการประยุกต์ใช้งาน ด้วยเหตุนี้ ระบบฐานข้อมูลแบบนี้จึงที่ได้รับความนิยมมากที่สุด
.
ลักษณะของ Relational database
.
– ข้อมูลทั้งหมดเป็นแบบตาราง ซึ่ง Entities ถูกจำลองให้เป็นรูปแบบตาราง แต่ละ instance ของ Entities คือแถวในตาราง และแต่ละคุณสมบัติถูกกำหนดเป็นคอลัมน์
– แถวทั้งหมดในตารางเดียวกันมีชุดของคอลัมน์เหมือนกัน
– ตารางสามารถมีแถวจำนวนเท่าใดก็ได้
– คีย์หลักจะระบุแต่ละแถวในตารางโดยไม่ซ้ำกัน ไม่สามารถมีสองแถวที่ใช้คีย์หลักร่วมกันได้ พูดง่ายๆคือ ข้อมูลแต่ละแถวของตารางจะต้องแตกต่างกัน
– แต่ละช่องในตารางจะบรรจุ ข้อมูลเพียง 1 ค่าเท่านั้น (ไม่สามารถ แบ่งย่อยได้อีก)
– แต่ละคอลัมน์ในตารางหนึ่งๆ จะต้องมีชื่อเรียกที่แตกต่างกัน โดยที่ชื่อของแต่ละคอลัมน์จะเป็นชื่อของแต่ละแอททริบิวท์
– ค่าของข้อมูลที่อยู่ในแต่ละคอลัมน์ คือ ค่าของแอททริบิวท์ จะต้องอยู่ในขอบเขตขอโดเมนที่กำหนดไว้สำหรับคอลัมน์นั้นๆ
– การเรียงลำดับก่อนหลังจากซ้ายไปขวาของคอลัมน์ในตารางไม่มีความสำคัญ
– การเรียงลำดับก่อนหลังจากบนไปล่างของแถวในตารางไม่มีความสำคัญ
.
ข้อดีของ Relational database
.
– เป็นฐานข้อมูลที่มีรูปแบบง่ายสำหรับผู้ใช้ทั่วไป
– ได้รับความนิยม มีคนใช้อยู่เป็นจำนวนมาก
– มีรูปแบบที่ง่ายต่อการเข้าใจสำหรับผู้ที่ไม่มีความรู้ในด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์หรือระบบฐานข้อมูล
– เหมาะสำหรับผู้ใช้ซึ่งไม่ใช่นักวิเคราะห์ นักออกแบบโปรแกรม โปรแกรมเมอร์ หรือผู้จัดการฐานข้อมูล
– ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรู้ว่าข้อมูลถูกจัดเก็บอย่างไร รวมถึงวิธีการในการเข้าถึงข้อมูลด้วย Access Approach
– ภาษาที่ใช้ในการเรียกดูข้อมูล เป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษาพูดของเราและไม่ จำเป็นต้องเขียนเป็นลำดับขั้นตอน จึงสะดวกในการใช้งานมาก
– การเรียกใช้ข้อมูลทำได้ง่ายและรวดเร็ว
– การบริหารจัดการข้อมูลเป็นไปอย่างมีระบบ
– ช่วยลดข้อมูลขยะที่ก่อให้เกิดปัญหาการใช้ทรัพยากรเกินความจำเป็น
.
ตัวอย่างการใช้งาน Relational database
.
Relational database มักใช้ในระบบอีคอมเมิร์ซ แต่กรณีการใช้งานที่สำคัญอย่างหนึ่งสำหรับการใช้ Relational database คือการประมวลผลธุรกรรมออนไลน์ Online Transaction Processing (OLTP) แอปพลิเคชัน OLTP มุ่งเน้นไปที่งานเชิงธุรกรรมที่ประมวลผลธุรกรรมจำนวนมากต่อนาที
.
Relational database เหมาะอย่างยิ่งสำหรับแอปพลิเคชัน OLTP เนื่องจากปกติแล้วจะรองรับการดำเนินการแทรก อัปเดต และลบ สามารถปรับ Relational database ได้บ่อยครั้งเพื่อให้การดำเนินการเหล่านี้รวดเร็ว
.
ตัวอย่างของแอปพลิเคชัน OLTP ที่ใช้ Relational database
– โซลูชั่นสำหรับธนาคาร
– แอปพลิเคชันขายปลีกออนไลน์
– ระบบจองตั๋วเครื่องบิน
– แอปพลิเคชั่นซื้อขายออนไลน์อื่นๆ
.
Relational database ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
.
– Microsoft SQL Server
– Oracle Database
– MySQL
– IBM DB2
– Cloud-based relational databases
– Database as a service (DBaaS)
.
อยากทำความเข้าใจกับ Database อีกตัวที่เป็นแบบ Non-relational database ว่ามันคืออะไรละก็ กดเข้าไปอ่านได้เลย เคยเขียนบทความไปแล้ว
.
ถ้าคุณอยากใช้งาน Database แต่ไม่รู้จะใช้งานยังไง เริ่มต้นยังไง เรายินดีให้คำปรึกษาเพื่อเลือก Database ที่ดีที่สุดสำหรับองค์กรของคุณ
.
.
สอบถามข้อมูล พร้อมให้คำปรึกษาในการทำ Database หรือ Bigdata
ติดต่อบริษัท มอนสเตอร์ คอนเนค
โทร 02-026-6665
หรือ Line: @MonsterConnect
.
Written by Witsawa Chanton
.
.
.
Ref.
https://www.ibm.com/cloud/learn/relational-databases
https://docs.microsoft.com/en-us/learn/modules/describe-concepts-of-relational-data/2-explore-characteristics
https://www.comgeeks.net/relational-database/index.htm