20
May
พื้นฐานการสร้าง Virtual machine
in Azure, Virtual Machine
Comments
พื้นฐานการสร้าง Virtual machine
.
วันนี้เราจะพาทุกคนมาดูสิ่งที่ควรรู้ในการกำหนดค่าก่อนสร้าง Virtual machine เป็นพื้นฐานคร่าวๆให้ทุกคนเข้าใจมันได้แบบง่ายๆ
.
หากใครยังไม่รู้จัก Virtual machine มันคืออะไรเราจะมาอธิบายคราวให้ฟังก่อน Virtual Machine (VM) คือ ซอฟต์แวร์ที่ใช้ทรัพยากรของเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็น RAM, Hard disk, CPU ในการจำลองเครื่องคอมพิวเตอร์เสมือน ซึ่งจะเรียกเครื่องที่ถูกใช้ทรัพยากรว่า Host และเรียกเครื่องเสมือนว่า Guest โดยในเครื่อง Guest สามารถติดตั้งและใช้งานระบบปฏิบัติการได้เสมือนกับเป็นซอฟต์แวร์หนึ่งของเครื่องคอมพิวเตอร์ ดังนั้นจึงสามารถติดตั้งระบบปฏิบัติการอื่นที่แตกต่างจากระบบปฏิบัติการหลักของเครื่อง Host ได้ เช่น เครื่อง Host ใช้งาน Microsoft Windows แต่เครื่อง Guest ติดตั้ง Linux เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถสร้าง Guest ได้มากกว่า 1 Guest ในเครื่อง Host เดียวกัน
.
หากใครอยากรู้แบบละเอียด เราเคยเขียนบนความไว้แล้ว สามารถเข้าไปอ่านได้ที่ Virtual Machines คืออะไร?
.
เรามาดูการกำหนดค่าต่างๆในการสร้าง VM มีอะไรบ้าง
.
ประเทศและตัวเลือกการใช้งาน (Regions and availability options)
.
Azure นั่นเปิดให้บริการอยู่ทั่วโลก ในแต่ละภูมิภาคก็จะมี data centers กระจายอยู่ทั้งหมด 50 ประเทศ ซึ่ง data centers นั่นจะทำหน้าที่เป็นหน่วยประมวลผล พื้นที่จัดเก็บ และเครือข่ายเพื่อที่จะทำให้แอปพลิเคชันหรือเวิดโหลดทำงานได้ สามารถเลือกดูเพิ่มเติมได้ว่ามีประเทศไหนบ้างที่มีศูนย์ data centers ของทาง Azure ที่ตั้งของศูนย์ data centers Azure ทั่วโลก
โดยแต่ละที่นั่น จะให้บริการ availability options และความสามารถไม่เหมือนกันทั้งหมด ต้องดูเป็นรายประเทศไป ถ้าจะใช้บริการ VM ในไทยนั้นจะต้องเลือก Southeast Asia เป็น data centers อยู่ที่สิงคโปร์ และในอนาคตทาง Microsoft วางแผนที่จะขยาย data centers ไปยังอีกหลายๆประเทศ ทำให้เวลาที่คุณทำ VM เพื่อทดสอบแอปพลิเคชั่นหรืออะไรก็ตามให้กับพนังงานหรือผู้บริโภค มันจะช่วยลด latency และเพิ่มประสบการณ์ที่ดีให้ผู้ใช้งานได้
.
รูปแบบ VM (VM images)
.
คุณจะต้องเลือกระบบปฏิบัติการที่ต้องการจำลอง เช่น Windows หรือ Linux โดยคุณสามารถเลือกเจาะจงได้ว่าคุณจะเอาระบบปฏิบัติเวอร์ชั่นใด เช่น Windows Server 2016 และ 2019 ถ้าเป็น Linux เช่น เวอร์ชั่น Ubuntu, Red Hat Enterprise Linux, และ SUSE มันไม่ได้มีแค่ 2ตัวนี้แน่นอน ยังมี prebuilt images จากทาง Azure ที่ให้เลือกอีกมากมาย ทาง Microsoft ได้ไปจับมือเป็นพันธมิตรอีกมากมายเพื่อให้คุณสะดวกในการเลือกมาสร้าง VM
พูดง่ายๆ คุณสามารถปรับแต่งระบบปฏิบัติการที่คุณต้องการได้อย่างเต็มที่ ให้เหมาะสมกับลักษณะการใช้งานของคุณ หรือถ้าคุณอยากจะเลือก prebuilt images ที่มีให้เลือกมากกว่า 100 แบบใน Marketplace ของ Azure ก็ทำได้
.
ขนาด VM (VM sizes)
.
ทาง Azure นั้นได้แบ่งไซส์ไว้เยอะมาก มีหน่วยประมวลผล CPU และแรมที่ต่างกัน แต่ละไซส์ของ VM ก็จะมีความสามารถต่างกัน ที่สำคัญตรงจุดนี้จะเป็นตัวกำหนดค่าใช้จ่าย อยากได้ที่มีความเร็วมากๆ การใช้งานหนักๆก็ต้องจ่ายเงินที่สูงขึ้น ดังนั้นเราจะควรเลือกขนาดให้เหมาะสมกับการใช้งาน ด้วยความที่มันแบ่งย่อยมากๆ ตามCPU และแรม เราจึงแบ่งหลักๆจะแบ่งตามจุดประสงค์ของการใช้งาน ถ้าหากมีโอกาสก็จะนำแต่ละรุ่นมาเขียนเป็นอีกบทความเจาะละเอียดในแต่ละรุ่น
.
General purpose
เหมาะสำหรับงานการพัฒนาและการทดสอบระบบทั่วๆไป web server ที่มีการใช้งานน้อย ฐานข้อมูลขนาดเล็ก
.
Compute optimized
เหมาะสำหรับงานที่ต้องการหน่วยประมวลผลขั้นสูง CPU แรงๆ การประมวลผลข้อมูลจำนวนมาก เช่น งาน production application servers
.
Memory optimized
เหมาะสำหรับงานที่ต้องการหน่วยความจำขนาดใหญ่ ใช้ในการประมวลผลฐานข้อมูลขนาดใหญ่หรือการสั่งงานที่ต้องการประสิทธิภาพสูง องค์กรที่มีขนาดใหญ่จำนวนพนักงานเยอะ ใช้งานเป็น database server
.
Storage optimized
เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความหน่วงที่ต่ำ Low-latency ต้องการอะไรที่รวดเร็ว เน้นการทำงานของ disk
.
GPU
อีกชื่อ เรียกว่า NVIDIA-based graphics-specialized VMs เป็น VM ที่มีเหมาะกับงานกราฟฟิกสูงๆ ถ้างานของคุณต้องการ render กราฟฟิกหรือการประมวลผลทางวีดีโอ โดยเฉพาะเรื่องของเกม
.
High-performance compute
ครบเครื่อง ใช้ CPU ขั้นสูง memory ขั้นสูง network ขั้นสูง เหมาะสำหรับงานที่ต้องการประมวลผลอย่างหนักหน่วง
.
Azure storage
.
พื้นที่การจัดเก็บข้อมูลจะเจาะจงลงที่บริการของทาง Azure มากขึ้น มีคำถามที่คุณต้องตั้ง คือคุณต้องเลือกพื้นที่จัดเก็บข้อมูลให้กับคอมพิวเตอร์เสมือนของคุณ คุณต้องการ disks เท่าไร ใหญ่แค่ไหน และประเภทไหน มาดูประเภทของ Azure storage กันเลย
.
Premium SSD (solid-state drive)
– ใช้ความหน่วงที่ต่ำ Low-latency
– SSD ที่มีประสิทธิภาพสูง
– มีการทำงานที่หนักหน่วง workloads เยอะๆ
– High Availability
– แบบนี้ถูกออกแบบมาสำหรับการใช้งาน Applications ต่างๆ ที่ต้องการหรือเน้นเรื่องของ Performance เป็นหลักเช่น SQL
.
Standard SSD disks
– SSD ที่มีประสิทธิภาพมาตรฐาน
– ให้ประสิทธิภาพที่สม่ำเสมอกว่า HDD
– งานการพัฒนาและการทดสอบระบบทั่วๆไป
– การใช้งานที่น้อย ความต้องการต่ำ web server
– มีงบไม่มาก
.
Standard HDD disks
– ใช้งานจานหมุนแบบทั่วไป
– เข้าถึงข้อมูลไม่บ่อยนัก
– เหมาะสำหรับการเก็บสำรองข้อมูลเล็กๆน้อยๆ
– ไม่แนะนำให้ใช้กับงาน running application workloads
.
Virtual networking (VNet)
.
VM นั่นก็ต้องการเชื่อมต่อกับ network เพื่อให้เข้าถึงผู้ใช้งานทั้งจาก Virtual network เอง และการเชื่อมต่อจากภายนอก คุณไม่สามารถสร้าง VM ขึ้นมาเฉยๆได้ ต้องสร้างควบคู่กัน พื้นฐานของ Virtual networking นั้นมีคุณสมบัติหลักคล้ายๆกับ physical network ทั่วไป
.
– สามารถสร้างและกำหนด Address Spaces
– สร้างหลาย Subnets เช่น ใช้เพื่อแบ่งออกสู่ภายนอก, เป็น database , รองรับ application traffic เป็นต้น
– กำหนด Address Spaces ให้กับแต่ละ Subnets ได้
– Virtual network interface cards (NICs) ที่เชื่อมต่อ VM และกับ Subnets ที่กำหนด
– Virtual IP addresses ที่ถูกมอบหมาย เช่น virtual NIC และ load balancer
.
คุณสามารถสร้าง VM ที่เชื่อมต่อกับ VNet โดยไม่ต้องเชื่อมต่อภายนอก ใช้ในกรณีที่คุณใช้เป็นฐานข้อมูลแบบ backend database และ application servers เพื่อเชื่อมต่อกับ VMs การดูแลระบบและการบำรุงรักษา คุณสามารถเชื่อมต่อกับ VPN ได้
.
.
.
สอบถามข้อมูล พร้อมให้คำปรึกษา Azure Virtual machine
ติดต่อบริษัท มอนสเตอร์ คอนเนค
โทร 02 392 3608
หรือ Line: @monsterconnect
.
.
.
Written by Witsawa Chanton
.
Ref.
http://www.mvpskill.com/kb/reduce-costs-azure-vm.html
http://www.mvpskill.com/kb/azure-portal-new-vm.html
https://www.saladpuk.com/cloud/azure101/vm