09
Jun
Power Apps Plans
มาเลือกแผนการใช้งาน Power Apps ให้เหมาะสมกับการใช้งานของคุณ
.
หลายๆองค์กรและหลายๆธุรกิจมีการพัฒนาแอปขึ้นมาเพื่ออาจจะไว้ใช้ในองค์กร ช่วยให้การทำงานของคนในองค์กรดีขึ้น อำนวยความสะดวกให้พนักงานใช้กัน หรือว่าคุณอาจจะทำขึ้นมาเพื่อไว้ให้ลูกค้าใช้หรืออาจจะพาทเนอร์ทางธุรกิจก็ได้ รวมไปถึงการเปิดให้ใช้แอปที่คุณสร้างแบบสาธารณะ
.
ซึ่ง Power Apps นั้นเป็นเครื่องมือที่ตอบโจทย์ให้องค์กรสามารถพัฒนาแอป นำข้อมูลทางธุรกิจต่างๆมาใส่ในแอป โดยที่แอปนั้นก็ช่วยอำนวยความสะดวก เหมาะกับคนที่ไม่ได้มีความรู้เกี่ยวกับโปรแกรมเมอร์หรือการเขียนโค๊ดมากนัก มันทำงานร่วมกับ Power Automate, Power BI เน้นการพัฒนาแบบ Low Code (เขียน Code น้อยมาก)
.
ในบทความนี้เราจะพาทุกคนมาทำความเข้าใจว่าแต่ละแผนการใช้งานของ Power Apps ว่ามันแตกต่างกันอย่างไรแล้วแต่ละแผนนั่นจะเหมาะกับการใช้งานแบบไหน มีความสามารถอะไรบ้าง
.
Power Apps มีทั้งหมด 2 แผนการใช้งาน
.
1. Power Apps per app plan
ผู้ใช้งาน 1 users สามารถใช้ทำงานรันแอปพลิเคชันได้ 2 แอป และแบบ single portal ใช้งานแบบ แอป canvas หรือ model หรือ ทั้งสองก็ได้ เป็นแผนการใช้งานที่เล็กสุด เหมาะสำหรับองค์กรที่มีธุรกิจเดียวและต้องการการสร้างแอปเพื่อมารองรับการใช้งานกับธุรกิจประเภทเดียว และเพิ่งเริ่มต้นใช้งาน ทดลองใช้งานก่อนที่จะขยายสเกลให้ใหญ่ขึ้นหรืออะไรก็ตาม
.
– ประเภทของ License : Per user license
– License assignment: In product
– เป็น licenses แบบ stackable
.
.
2. Power Apps per user plan
ผู้ใช้งาน 1 users สามารถใช้ทำงานรันแอปพลิเคชันได้แบบไม่จำกัดแอป จะสร้างมากี่แอปก็ได้ ใช้งานกี่แอปก็ได้ เหมาะสำหรับองค์กรที่ประกอบหลายธุรกิจและต้องการทำแอปแยกมาใช้งานให้เหมาะสมตามธุรกิจ
.
– ประเภทของ License : User license
.
.
Power Apps add-ons
มีฟังก์ชั่นเสริมอยู่ 3 อย่าง คือ
1.Portals Login capacity
เป็นฟังก์ชั่นเสริมที่ช่วยให้ลูกค้าหรือคนในองค์กรที่ไม่ได้ใช้บริการหรือมีบัญชีของทาง Power Apps สามารถเข้ามาดูและใช้งานได้ ซึ่งเป็นการสร้างบัญชีผู้ใช้ขึ้นมาก็คือเป็นผู้ใช้ที่ต้องระบุตัวตน (Authenticated users) เช่น พนักงานในองค์กร พาทเนอร์ทางธุรกิจต่างๆ รองรับการใช้งานได้ 100 login sessions
.
2.Portals Page view capacity
เป็นฟังก์ชั่นเสริมที่สามารถทำให้ผู้ใช้งานทั่วไปที่ไม่ได้เป็นคนในองค์กร (Unauthenticated users) พูดง่ายก็คือเป็นการเปิดสาธารณะให้ใครก็ได้เข้ามาดูและใช้งานในรูปแบบของ web pages รองรับการใช้งานได้ 100,000 page views
.
3.AI Builder
เป็นการเพิ่มความสามารถของ AI ลงไปบนแอป ซึ่งใน 1 unit จะเป็น pack ของ 1 ล้าน service
.
Power Apps for Microsoft 365
.
นอกจากนี้ Power Apps ยังเป็นบริการที่มาพร้อมกับ Microsoft 365 Enterprise อีกด้วย หากคุณมีการใช้งานอยู่แล้วก็สามารถใช้งานได้เลย โดยมี Power Apps อยู่ในทุกแผนการใช้งาน ตั้งแต่ F3 E3 E5 แต่ว่าในแผน F3 นั่นจะมีความสามารถที่แตกต่างและไม่เท่ากับแผนอื่นๆ
เพียงแต่มันจะมีข้อแม้ที่ว่าจะไม่สามารถใช้ความสามารถ “การเข้าถึงข้อมูลแบบ on-premises หรือการใช้ความสามารถแบบ premium และ custom connectors” (Access on-premises data or use premium or custom connectors) โดยความสามารถที่เป็นแบบ premium เช่น Microsoft SQL Server, Common Data Service, Azure Blob Storage, Azure Application Insights และ TxtSync เป็นต้น
.
หากสนใจและอยากใช้บริการ Microsoft 365 Enterprise ละก็เราเคยเขียนบทความไว้แล้ว
เปรียบเทียบ Microsoft 365 For Enterprise E3 VS E5
.
.
.
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Power Apps และ Microsoft 365
ติดต่อ บริษัท มอนสเตอร์ คอนเนค
โทร 02-026-6665
Line: @monsterconnect
.
สนใจสั่งซื้อสินค้าได้ที่ https://mon.co.th/collections/software
.
.
.
Written by Witsawa Chanton
.
Ref.
https://powerapps.microsoft.com/en-us/pricing/
https://docs.microsoft.com/en-us/power-platform/admin/powerapps-flow-licensing-faq
https://docs.microsoft.com/en-us/power-platform/admin/pricing-billing-skus
เอกสารจากทาง Microsoft “Power Apps, Power Automate and Power Virtual Agents Licensing Guide – June 2021”